วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยว จ.ฉะเชิงเทรา

วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา


วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวแปดริ้วและคนต่างบ้านต่างเมืองมาแต่อดีตกาล ตั้งอยู่บนถนนสายมรุพงษ์ ห่างจากตลาดกลางเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร
วัดนี้แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัตินั้น แต่แรกมีชื่อว่า "วัดหงส์" เพราะมี"เสาหงส์" อยู่ในวัดเป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงอยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บนยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน จึงได้ชื่อว่า "วัดเสาธง" ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "วัดเสาธงทอน" ส่วนชื่อ "วัดโสธร" อันมีความหมายว่า "บริสุทธิ์" และ "ศักดิ์สิทธิ์" นั้น เรียกตามพระนามของพระพุทธโสธรหรือหลวงพ่อโสธร ซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้ ในภายหลัง วัดโสธรได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า "วัดโสธรวรารามวรวิหาร" เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ฝีมือช่างล้านช้าง สันนิษฐานว่าได้มาประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ประมาณปี พ.ศ. 2313 อันเป็นสมัยต้นกรุงธนบุรี ตามประวัติเล่าว่า แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างศอกเศษ แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักขโมยไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้ จนมีลักษณะดังที่เป็นปัจจุบัน

วัดสมานรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา


พระพิฆเณศ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และจะมีใครรู้บ้างว่า ท่านเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง หรือผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้องทั้งปวง

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

 


130 ปี  ย่านการค้าตลาดโบราณนครเนื่องเขต เที่ยวชมสถาปัตยกรรมบ้านเรือน อิ่มเอมกับมิตรไมตรีของคนในชุมชน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้แก่ ศาลเจ้าไท่จือเอี้ย และศาลเจ้าปุนเถ้ากง บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลนครเนื่องเขต ตลาดโบราณแห่งนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้จาก 4 ตระกูลดัง        ในพื้นที่ได้แก่ ขุนอนันต์เนื่องเขต (กำนันคนแรกของ ต.เนื่องเขต), เถ้าแก่หมุย ชัยวัฒน์, เถ้าแก่มั้ว        สายวานิณชย์ และเถ้าแก่เง็กเจิ่น หยกอุบล และนอกจาก 4 ตระกูลนี้แล้ว ยังมีหลายตระกูลที่ไม่ได้เอ่ยถึงซึ่งได้มีบทบาทช่วยกันก่อตั้งตลาดนครเนื่อง เขต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น